เอนไซม์
เอนไซม์ คือ
ตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ
เป็นสารประกอบพวกโปรตีน
สามารถลดพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา เอนไซม์
จะเร่งเฉพาะชนิดของปฏิกิริยา
และชนิดของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา
การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์
E เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (เอนไซม์)
S เป็นสารตั้งต้นเรียกว่า สับสเตรต และ P
เป็นสารผลิตภัณฑ์
E + S
| --------------->
| ES
| --------------->
| E + P
|
|
| สารเชิงซ้อน
|
| |
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์
1.
ชนิดของสารที่เอนไซม์ไปควบคุมปฏิกิริยา
2.
ความเข้มข้นของสับสเตรดเปลี่ยนตามอัตราการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์
3.
ความเข้มข้นของเอนไซม์เปลี่ยนตามอัตราการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์
4. ความเป็นกรด-เบสของสารละลาย
ส่วนมากเอนไซม์จะทำงานได้ดีในช่วง pH
เป็นเบสเล็กน้อย
แต่อย่างไรก็ตามเอนไซม์จะเร่งปฏิกิริยาให้เกิดเร็วในช่วง
pH ใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดของสับสเตรตนั้น ๆ
5. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่ 37 ํC
เป็นอุณหภูมิที่เอนไซม์ส่วนใหญ่ทำงานได้ดี
อุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้การทำงานของเอนไซม์เสื่อมไป
เพราะเอนไซม์เป็นโปรตีนเมื่ออุณหภูมิสูงเอนไซม์ถูกทำลายธรรมชาติไป
6. สารยับยั้งปฏิกิริยาของเอนไซม์
สารบางชนิดเมื่อรวมตัวเอนไซม์จะทำให้เอนไซม์ทำงานช้าลงหรือหยุดทำงานได้
7. สารกระตุ้น
เอนไซม์บางชนิดต้องการไอออนพวกอนินทรีย์เป็นตัวกระตุ้นจึงจะเกิดการทำงานและเกิดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร่งได้