สมบัติทั่วไปของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิด
จะประกอบด้วยธาตุ C และ H พันธะที่เกิดจาก C กับ C
จะเป็นพันธะเดี่ยว (C - C), พันธะคู่ (C= C)
หรือพันธะสาม (C = C)
มีผลต่างของตัวอิเล็กโทรเนกาตีวิตีเป็นศูนย์
จึงเป็นพันธะไม่มีขั้วและพันธะที่เกิดจาก
C กับ H
มีผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีมีค่าน้อยมาก
จึงถือว่าเป็นพันธะไม่มีขั้ว
ดังนั้นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดจัดเป็นโมเลกุลไม่มีขั้วแรงยึดเหนี่ยว
ระหว่างโมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเป็นแรงแวนเดอร์วาลส์
โมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วละลายน้ำได้โดยโมเลกุลของน้ำ
จะหันขั้วที่มีอำนาจไฟฟ้าตรงกันข้าม
เข้าดึงดูดกับโมเลกุลโคเวเลนต์มีขั้วหรือไอออน
น้ำที่ล้อมรอบจะมีจำนวนมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับขนาด
และประจุของโมเลกุลหรือไอออน
2. การเผาไหม้
การเผาไหม้ของสารใด ๆ คือ
การที่สารชนิดหนึ่งทำปฏิกิริยากับออกซิเจน
แล้วคายพลังงานออกมา
ลักษณะสำคัญของการเผาไหม้ของสาร
- สารที่เผาไหม้ได้ดี
และคายพลังงานออกมามาก ได้แก่
สารประกอบไฮโดรคาร์บอน
- สารประกอบไฮโดรคาร์บอนเกิดการเผาไหม้กับก๊าซ
O2 อย่างสมบูรณ์ จะให้ก๊าซ CO2 และ
H2O พร้อมกับปล่อยความร้อนออกมาด้วย
ดังสมการของการเผาไหม้ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนดังนี้
- CxHy + (x+y/4)O2 ---->
xCO2 + y/2H2O + พลังงาน
- การเผาไหม้ของสารใดเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน
และการเผาไหม้ของสารทุกชนิดมีทั้งการสลายพันธะและสร้างพันธะใหม่
ด้วยเหตุนี้พลังงานที่ดูดเข้าไปทั้งหมดที่ใช้ในการสลายพันธะน้อยกว่าพลังงานที่เกิดจากการสร้างพันธะใหม่คายออกมา
และเนื่องจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเผาไหม้ให้ความร้อนออกมามาก
จึงใช้