มวลของสารในปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงของสารในปฏิกิริยาใดๆ
ต้องมีการกำหนดขอบเขตการศึกษา
ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ
ส่วนที่อยู่ภายในขอบเขตของการศึกษาซึ่งรวมทั้งก่อนการเปลี่ยนแปลงและหลังการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า
ระบบ
กับส่วนที่อยู่นอกขอบเขตที่ศึกษา
เช่นภาชนะ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือวัดต่างๆเรียกว่า สิ่งแวดล้อม เช่น
การทำน้ำให้เป็นน้ำแข็ง
ระบบก่อนการเปลี่ยนแปลงคือน้ำ
และระบบหลังการเปลี่ยนแปลงคือน้ำแข็ง
ส่วนสิ่งแวดล้อมก็คือภาชนะ ระบบมีอยู่ 2
ระบบดังนี้
1. ระบบปิด คือ
ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
2. ระบบเปิด คือ
ระบบที่มีการถ่ายเทมวลของสารระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสารจำเป็นต้องระบุสมบัติต่างๆ
ของระบบ เช่น มวล อุณหภูมิ ปริมาตร ความดัน
ถ้าตรวจสอบได้ว่าสมบัติใดของระบบมีการเปลี่ยนแปลงก็ถือได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบ
สมบัติของสารและปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติของระบบเรียกว่า
ภาวะของระบบ
ในปี พ.ศ. 2317 อองตวน-โลรอง ลาวัวซิเอ
ได้ทดลองเผาสารในหลอดที่ปิดสนิทพบว่า
มวลรวมของสารก่อนเกิดปฏิกิริยา
เท่ากับมวลรวมของสารหลังทำปฏิกิริยา
จึงตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎทรงมวล
โจเชฟ เพราสต์
ได้ศึกษาการเตรียมสารประกอบบางชนิด
พบว่าสารประกอบชนิดหนึ่งที่เตรียมด้วยวิธีการที่แตกต่างกันมีอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่รวมกันเป็นสารประกอบหนึ่ง
ๆ จะมีค่าคงที่
จึงตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎสัดส่วนคงที่
ตัวอย่างเช่น สารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ ( CuS )
ที่เกิดจากการ