คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ
สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H และ O
อัตราส่วนโดยอะตอมของ H : O = 2:1 เช่น
C3H6O3 C6H12O6
(C6H10O5)n
คาร์โบไฮเดรต
เป็นสารอินทรีย์ที่หมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์
(-CHO) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หรือหมู่คาร์บอนิล (-CO)
และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) เป็นหมู่ฟังก์ชัน เช่น
คาร์โบไฮเดรต
1.
คาร์โบไฮเดรตที่ให้รสหวาน
1.1 Monosaccharide CnH2nOn
เป็นคาร์โบไฮเดรตที่โมเลกุลเล็กที่สุด เช่น
C3H6O3
C6H12O6(เฮกโซส) มีกลูโคส ฟรุกโตส
กาแลกโตส
1.2 Disaccharide เป็นคาร์โบไฮเดรตที่เกิด Monosaccharide 2
โมเลกุล มารวมตัวกัน เช่น
C12H22O11 มีซูโครส มอลโตส แลคโตส
สมบัติ สถานะเป็นของแข็ง
ละลายน้ำ มีรสหวาน
ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์เกิดตะกอนสีแดงอิฐ
(Cu2O) ยกเว้นซูโครส สำหรับ Disaccharide
สามารถเกิดการไฮโดรลิซิสได้ Monosaccharide 2 โมเลกุล
2. คาร์โบไฮเดรตไม่มีรสหวาน
Polysaccharide (C6H10O5)n เป็นคาร์โบไฮเดรตจำพวก
พอลิเมอร์ที่เกิดจากโมเลกุล Monosaccharide (กลูโคส)
จำนวนมากมายต่อรวมกัน เช่น แป้ง ไกลโคเจน
เซลลูโลส
สมบัติ สถานะเป็นของแข็ง
ไม่ละลายน้ำ ไม่มีรสหวาน
เกิดการไฮโดรลิซิสได้ Monosaccharide
ที่เป็นกลูโคสจำนวนมากมาย
การทดสอบคาร์โบไฮเดรต
1.
คาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน
สารอินทรีย์ที่มีหมู่ -CO และ -OH
ในโมเลกุลเดียวกันในด่าง
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
จะเปลี่ยนโครงสร้างเป็นหมู่ -CHO ดังนี้
สารละลายเบเนดิกต์ (Benedict solution)
เป็นสารละลายผสมระหว่าง CuSO4,
Na2CO3 และโซเดียมซิเตรด เป็น
Cu2+/OH- มีสีน้ำเงิน
สารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO)
ต้มกับสารละลายเบเนดิกต์ (Cu2+/OH-)
2.
คาร์โบไฮเดรตที่ไม่มีรสหวาน
แป้ง + I2
-------------------->สารเชิงซ้อนสีน้ำเงินที่เป็นตะกอน
การหมัก (Fermentation) คือ
กระบวนการเปลี่ยนสารอินทรีย์ในการที่ไม่ใช้
O2 โดยมีสิ่งมีชีวิต เช่น
ยีสต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้สารผลิตภัณฑ์เช่น
แอลกอฮอล์ ดังนี้