การผุกร่อนของโลหะและการป้องกัน
การผุกร่อนของโลหะที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันได้แก่
เหล็กเป็นสนิม (สนิมเหล็กเป็นออกไซด์ของเหล็ก
Fe2O3.xH2O)
ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ ตัวอย่างเช่น
การที่อะตอมของโลหะที่ถูกออกซิไดส์แล้วรวมตัวกับออกซิเจนในอากาศเกิดเป็นออกไซด์ของโลหะนั้น
เช่น สนิมเหล็ก(Fe2O3) สนิมทองแดง
(CuO) หรือสนิมอลูมิเนียม (Al2O3)
การเกิดสนิมมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากและมีลักษณะเฉพาะตัวดังนี้
1. การผุกร่อนของโลหะ
คือปฏิกิริยาเคมีที่เกิดระหว่างโลหะกับภาวะแวดล้อม
2.
ภาวะแวดล้อมที่ทำให้ผุกร่อน คือ
ความชื้น และออกซิเจน(H2O, O2) หรือ
H2O กับอากาศ
3.
ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดในการผุกร่อน
เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์
3.1 โลหะที่เกิดปฏิกิริยา Oxidation (ให้อิเล็กตรอน)
3.2 ภาวะแวดล้อมเป็นฝ่ายรับอิเล็กตรอน
เกิดปฏิกิริยา Reduction
4.
สมการแสดงปฏิกิริยาการผุกร่อน
(เกิดจากการทดลอง)
โลหะ + ภาวะแวดล้อม -----> Ion ของโลหะ + เบส
Fe (s) + H2O (l) + O2 (g) -----> Fe2+
(aq) + OH- (aq)
Fe2+
ทดสอบโดยใช้สารละลาย
K3Fe(CN)6 จะได้สีน้ำเงิน
ถ้าสีน้ำเงินเข้ม แสดงว่ามี Fe2+ มาก
ถ้าจางมี Fe2+ น้อย
เบส(OH-)
ทดสอบโดยสารละลายฟินอล์ฟทาลีน ได้สีชมพู
5. ในการ Balance สมการ
เมื่อเหล็กสัมผัสกับอากาศและความชื้น
อะตอมของเหล็กจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันดังสมการ
Fe (s) ------> Fe2+ (aq) + 2e
.(1) (Oxidation)
น้ำและออกซิเจนรับอิเล็กตรอนจากเหล็ก
ดังสมการ
2H2O (l) + O2 (g) + 4e ------> 4OH- (aq)
.(2) (Reduction)
(1) * 2 + (2) ; 2Fe + 2H2O + O2 ------->
2Fe2+ + 4OH- (Redox)
การป้องกันสนิมเหล็ก
1. ทาสี ทาน้ำมัน การรมดำ
และการเคลือบพลาสติก
เป็นการป้องกันการถูกกับ O2
และความชื้น
ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดสนิมของโลหะได้และเป็นวิธีที่สะดวกและให้ผลดีในการป้องกันสนิม
2. โลหะบางชนิดมีสมบัติพิเศษ
กล่าวคือเมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจะเกิดเป็นออกไซด์ของโลหะเคลือบอยู่บนผิวของโลหะนั้นและไม่เกิดการผุกร่อนอีกต่อไป
โลหะที่มีสมบัติดังกล่าวได้แก่ อลูมิเนียม
ดีบุก และสังกะสี การชุบ หรือ