ตาราง 1 แสดงการไทเทรต กรด-เบส คู่ต่าง ๆ และการเลือกอินดิเคเตอร์ ในการไทเทรตชัน
ชนิดของกรด-เบส ที่ไทเทรตซัน ช่วง pH ที่เปลี่ยนมากเมื่อ
ก่อน-หลังจุดสมมูลเล็กน้อย
pH ที่จุดสมมูล อินดิเคเตอร์ที่เลือกใช้ไทเทร
กรดแก่ กับ เบสแก่ 3 -11 เท่ากับ 7 ฟีนอลฟ์ธาลีน (pH = 8.3-10.0)
เมทิลออเรนจ์(pH = 3.0-4.4)
กรดแก่ กับ เบสอ่อน่ 3 - 7่ น้อยกว่า 7่ เมทิลออเรนจ์(pH = 3.0-4.4)
โบรโมฟีนอลบลู(pH = 3.0-4.6)
กรดอ่อน กับ เบสแก่ 7 - 11 มากกว่า 7 ฟีนอลฟ์ธาลีน (pH = 8.3-10.0)
กรดอ่อน กับ เบสอ่อน บอกไม่ได้ว่าอยู่ช่วงใดขึ้นอยู่กับค่า Ka ของกรดอ่อนและ Kb ของเบสอ่อนที่ไทเทรต บอกไม่ได้ ขึ้นอยู่กับค่า Ka ของกรดอ่อนและ Kb ของเบสอ่อน เลือกยาก และในการไทเทรตกรด-เบส ไม่ควรไทเทรตกรดอ่อนกับเบสอ่อน
หมายเหตุ การเลือกอินดิเคเตอร์ในการไทเทรต กรด-เบส ให้เลือกอินดิเคเตอร์ชนิดที่มีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีตรงหรือใกล้เคียงกับ pH ของเกลือ (ละลายน้ำ) ที่เกิดไทเทรต กรด-เบส คู่นั้น

ตัวอย่างกราฟไทเทรต กรด-เบส


รูปที่ 1 กราฟไทเทรตของการไทเทรต กรดอ่อนด้วยเบสแก่ กราฟแสดงการไทเทรตกรดฟรอมมิก 0.5 mol/dm3 25 cm3 ด้วยเบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.5 mol/dm3 ด้วยปริมาตรต่าง ๆ กัน โดยใช้ค่า pH ที่เปลี่ยนไปมาเขียนกราฟ
รูปที่ 2 กราฟไทเทรตของการไทเทรต เบสอ่อนด้วยกรดแก่ กราฟแสดงการไทเทรตเบสแอมโมเนีย 0.2 mol/dm3 20 cm3 ด้วยกรดไนตริก 0.4 mol/dm3 ปริมาตรต่าง ๆ กัน โดยใช้ค่า pH ที่ เปลี่ยนไปมาเขียนกราฟกับปริมาตรของกรดไนตริกที่ใช้
รูปที่ 3 กราฟสำหรับกรดที่มีความแรงต่าง ๆ กัน (pKa ต่าง ๆ กัน) แสดงการไทเทรตกรดด้วยเบส โดยกรดแก่ กว่าจะมีช่วง pH เปลี่ยนไปกว้างกว่า (เช่น กรดที่ pKa ต่ำ ๆ) และกรดอ่อนกว่า ก็จะมีช่วง pH เปลี่ยนแปลงไปแคบกว่า
รูปที่ 4 กราฟไทเทรต สำหรับเบสที่มีความแรงต่าง ๆ กัน (pKb ต่าง ๆ กัน) แสดงการไทเทรตเบส ด้วยกรดโดยเบสแก่กว่า จะมีช่วง pH เปลี่ยนแปลงไปกว้างกว่า (เช่น เบสที่มีค่า pKb = 11) และเบสอ่อนกว่าก็จะมีช่วง pH เปลี่ยนแปลงไปแคบกว่า กราฟไทเทรต กรด-เบส (Titration curve) คือกราฟที่เขียนขึ้นระหว่างค่า pH ที่เปลี่ยนแปลงไปขณะไทเทรตกับปริมาตรของกรดหรือเบสที่ใช้ในการไทเทรต ลักษณะของกราฟ เป็นรูปตัวเอส จุดสมมูลอยู่บนเส้นกราฟตรงส่วนที่มีความชันมากจากกราฟจะพบว่าก่อนและหลังถึงจุดสมมูลเล้กน้อยจะมี pH เปลี่ยนแปลงมาก

ประโยชน์ที่ได้จากกราฟไทเทรต กรด-เบส

1. สามารถหาจุดสมมูลของการไทเทรต กรด-เบสได้
2. สามารถใช้เลือกอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมในการไทเทรต เพื่อบอกจุดยุติได้ตรงกับจุดสมมูล
หรือใกล้เคียงกับจุดสมมูลได้